| |
อานิสงส์แห่งการละมุสาวาทได้ ๑๔ ประการ   |  

๑. วิปปะสันนะอินท๎ริยะตา ทำให้มีอินทรีย์ผ่องใส

๒. วิสสิฏฐะมะธุระภาณิตา มีวาจาไพเราะสละสลวย

๓. สะมะสิตะสุทธะทันตะตา มีไรฟันเสมอชิดกันสนิท

๔. นาติถูละตา ร่างกายไม่อ้วนเกินไป

๕. นาติกีสะตา ร่างกายไม่ผอมเกินไป

๖. นาติรัสสะตา ร่างกายไม่เตี้ยเกินไป

๗. นาติทีฆะตา ร่างกายไม่สูงเกินไป

๘. สุขะสัมผัสสะตา มีสัมผัสสบายในทวารทั้ง ๖

๙. อุปปะละคันธะมุขะตา มีปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว

๑๐. สุสสูสะกะปะริชะนะตา มีบริวารชนล้วนแต่เชื่อฟัง

๑๑. อาเทยยะวะจะนะตา มีถ้อยคำที่น่าเชื่อถือ

๑๒. กะมะลุปปะละถะละสะทิสะมุทุโลหิตะตะนุชิวหะตา มีลิ้นบางเหมือนกับกลีบดอกอุบล มีสีแดงอ่อน

๑๓. อะนุทธะตะตา มีใจไม่ฟุ้งซ่าน

๑๔. อะปะคะตะมัมมะนะตา ไม่ติดอ่าง [ไม่เป็นใบ้]


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |