| |
ประเภทของจิต   |  

จิตทั้งหมดตามที่กล่าวมานี้ เมื่อสรุปแล้ว มี ๔ ประเภท คือ

๑. กุศลจิต หมายถึง จิตฝ่ายดีงามและให้ผลเป็นความสุข

๒. อกุศลจิต หมายถึง จิตฝ่ายไม่ดีไม่งามและให้ผลเป็นความทุกข์

๓. วิปากจิต หมายถึง จิตที่เป็นผลของกุศลจิตและอกุศลจิตที่ถึงความสุกงอมและหมดกำลังลงแล้ว

๔. กิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเพียงเพื่อทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จลง เท่านั้น ไม่มีการให้ผลเกิดขึ้นต่อไปแต่อย่างใด จึงเรียกว่า สักแต่ว่ากระทำ เท่านั้น ดังมีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |