| |
มรณานุสสติ   |  

มรณัสสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายที่จะมีแก่ตนและบุคคลทั้งหลาย

วิธีการระลึกถึงความตาย ๘ ประการ

๑. วะธะกะปัจจุปปัฏฐานะโต โดยอาการปรากฏดุจเพชฌฆาต

๒. สัมปัตติวิปัตติโต โดยความวิบัติแห่งสมบัติ

๓. อุปะสังหะระณะโต โดยการนำตนเข้าไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น

๔. กายะพหุสาธาระณะโต โดยการที่กายเป็นสิ่งสาธารณะแก่สัตว์หมู่มาก

๕. อายุทุพพะละโต โดยความที่อายุเป็นสิ่งเปราะบาง

๖. อะนิมิตตะโต โดยความไม่มีนิมิตเครื่องหมายว่าจะตายเมื่อไร

๗. อัทธานะปะริจเฉทะโต โดยความกำหนดระยะกาลแห่งอายุว่าเล็กน้อย

๘. ขะณะปะริตตะโต โดยความที่ชีวิตมีขณะเพียงนิดหน่อย

การระลึกถึงความตายโดยเปรียบด้วยบุคคล ๗ จำพวก

๑. ยะสะมะหัตตะโต เปรียบกับผู้มียศศักดิ์ยิ่งใหญ่

๒. ปุญมะหัตตะโต เปรียบกับผู้มีบุญมาก

๓. ถามะมะหัตตะโต เปรียบกับผู้มีกำลังมาก

๔. อิทธิมะหัตตะโต เปรียบกับผู้มีฤทธิ์มาก

๕. ปัญญามะหัตตะโต เปรียบกับผู้มีปัญญามาก

๖. ปัจเจกะพุทธะโต เปรียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า

๗. สัมมาสัมพุทธะโต เปรียบกับพระพุทธเจ้า

โดยเปรียบเทียบว่า แม้บุคคลจะมีความเป็นใหญ่ดังกล่าวแล้วนี้ก็ตาม แต่ไม่มีบุคคลใดสามารถรอดพ้นจากความตายไปแล้ว ทุกคนต่างก็บ่ายหน้าไปสู่ความตาย ตามวาระของตนทั้งสิ้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |