ไปยังหน้า : |
ธาตุ หมายถึง ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงสภาวะไปเป็นอย่างอื่น แม้โลกและสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป หรือสมมติเรียกขานแตกต่างกันไปอย่างไรก็ตาม แต่สภาวะของธรรมเหล่านั้น ก็ยังทรงอยู่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธาตุ มี ๑๘ ประการ คือ
๑. จักขุธาตุ | ได้แก่ จักขุปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๒. โสตธาตุ | ได้แก่ โสตปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๓. ฆานธาตุ | ได้แก่ ฆานปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๔. ชิวหาธาตุ | ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๕. กายธาตุ | ได้แก่ กายปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๖. รูปธาตุ | ได้แก่ วัณณรูป คือ สีต่าง ๆ | จัดเป็น รูป | ||
๗. สัททธาตุ | ได้แก่ สัททรูป คือ เสียงต่าง ๆ | จัดเป็น รูป | ||
๘. คันธธาตุ | ได้แก่ คันธรูป คือ กลิ่นต่าง ๆ | จัดเป็น รูป | ||
๙. รสธาตุ | ได้แก่ รสรูป คือ รสต่าง ๆ | จัดเป็น รูป | ||
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ | ได้แก่ ปถวี เตโช วาโย | จัดเป็น รูป | ||
๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ | ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ | ได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ | ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ | ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๕. กายวิญญาณธาตุ | ได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๖. มโนธาตุ | ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ | จัดเป็น นาม | ||
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ | ได้แก่ จิต ๗๖ ดวง | จัดเป็น นาม | ||
[เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ และมโนธาตุ ๓] | ||||
๑๘. ธัมมธาตุ | ได้แก่ เจตสิก ๕๒ นิพพาน | จัดเป็น นาม | ||
สุขุมรูป ๑๖ | จัดเป็น รูป |