| |
ลักษณะของบุคคลผู้หนักในโทสจริต ๖ ประการ   |  

๑. โกธะ เป็นคนมักโกรธ ทำอะไรขัดใจหน่อย ก็หงุดหงิดรำคาญ

๒. อุปนาหะ เป็นคนมักผูกโกรธ ทำอะไรให้ไม่พอใจก็เจ็บแค้น เก็บความเจ็บใจไว้นาน เรื่องไม่เป็นเรื่องก็เก็บไปคิดอาฆาตพยาบาทจองเวร

๓. มักขะ เป็นคนลบหลู่คุณคน ถึงจะทำประโยชน์ให้มากมายก็ตาม แต่เมื่อเกิดความไม่พอใจนิดหน่อย ก็ลืมบุญคุณนั้นเสียสิ้นจ้องจะล้างผลาญทำลายให้พินาศย่อยยับไป

๔. ปลาสะ มักตีตนเสมอท่าน เป็นคนไม่มีความจริงใจ ขาดจิตสำนึกที่ดี เข้าหาคนอื่น เพื่อตีสนิทแล้วแสดงความสนิทสนมจนเกินขอบเขต

๕. อิสสา เป็นคนมักอิจฉาริษยา เห็นคนอื่นได้ดีกว่าไม่ได้ มักจ้องจะหาวิธีล้างผลาญ หรือเหยียบย่ำให้จมลงจนได้

๖. มัจฉริยะ มีความตระหนี่ ไม่ต้องการเห็นบุคคลอื่นมีได้เหมือนตนเอง และหวงแหนทรัพย์สมบัติหรือคุณความดีของตนไว้ไม่ต้องการให้ใครมาเกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ต้องการให้คนอื่นมาสวามิภักดิ์ยอมสยบอยู่ใต้อำนาจของตนเอง ด้วยการใช้คำพูดหว่านล้อมหรือแกล้งแสดงปฏิกิริยาให้น่าเลื่อมใสเป็นสะพานเชื่อม


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |