| |
ความเป็นติเหตุกบุคคล   |  

บุคคลผู้เป็นติเหตุกบุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าอเหตุกบุคคลและทวิเหตุกบุคคล ทั้งในด้านประสิทธิภาพการรับรู้อารมณ์และโอกาสในการได้บรรลุฌาน อภิญญา มรรค ผล เนื่องจากติเหตุกบุคคลนั้น เป็นผู้ปฏิสนธิมาพร้อมด้วยไตรเหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ เป็นผู้มีปัญญาเกิดมาพร้อมกับปฏิสนธิจิต เรียกว่า สชาติกปัญญา ซึ่งเป็นผู้มีพื้นฐานทางด้านจิตใจสูง สามารถที่จะรองรับคุณวิเศษต่าง ๆ ได้ ส่วนบุคคลผู้เป็นอเหตุกบุคคล หรือ ทวิเหตุกบุคคลนั้น ถึงแม้จะมีการขวนขวายพยายามหรือมีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ มากมายขนาดไหนก็ตาม แต่ประสิทธิภาพในการรู้อารมณ์ย่อมมีน้อยกว่าติเหตุกบุคคล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในด้านคุณวิเศษ ได้แก่ ฌาน อภิญญา มรรค ผลนั้น ไม่มีโอกาสเกิดได้เลยในภพชาตินั้น ฉะนั้น เมื่อสรุปแล้ว ความเป็นติเหตุกบุคคล จึงมีคุณสมบัติพิเศษ ๓ ประการ ได้แก่

๑. ถ้ามีบารมีในทางฌาน อภิญญา ย่อมสามารถทำฌานอภิญญาให้เกิดขึ้นได้

๒. ถ้ามีบารมีในทางมรรคผล ย่อมสามารถทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้

๓. สามารถคิดอ่านเหตุการณ์หรือตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่ตนเองมีความคุ้นเคยมานั้นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าพวกอเหตุกบุคคลและทวิเหตุกบุคคล


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |