| |
ลักษณะของอริยสาวกผู้ได้ธรรมจักษุ ๘ ประการ   |  

๑. เห็นธรรม ๒. บรรลุธรรม

๓. รู้แจ้งธรรม ๔. หยั่งถึงธรรม

๕. หมดความสงสัย ๖. ปราศจากคำแสดงความสงสัย

๗. ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ๘. ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่น

ดังหลักฐานที่มาในอัมพัฏฐสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลวรรคว่า ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิดขึ้นแก่พราหมณ์โปกขรสาติ ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากด่างดำ พึงรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ลำดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติได้เห็นธรรมแล้ว ๑ ได้บรรลุธรรมแล้ว ๑ ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ๑ มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ๑ ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ๑ ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ๑ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ๑ ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ๑ ฯ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |