| |
พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า   |  

๑. ธีระ ทรงเป็นนักปราชญ์

๒. วิคตโมหะ ทรงปราศจากโมหะ

๓. ปภินนขีละ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจได้

๔. วิชิตวิชยะ ทรงชนะมารได้โดยสิ้นเชิง

๕. อนีฆะ ทรงไม่มีความทุกข์กังวล

๖. สุสมจิตตะ ทรงมีพระทัยสม่ำเสมอในกาลทุกเมื่อ

๗. วุทธสีละ ทรงมีพระจรรยามารยาทอันเจริญ

๘. สาธุปัญญะ ทรงมีพระปรีชาญาณอย่างยอดเยี่ยม

๙. เวสมันตระ ทรงข้ามพ้นกิเลสอันปราศจากความตีเสมอได้

๑๐. วิมละ ทรงปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมองใจทุกอย่าง

๑๑. นิสภะ ทรงมีความองอาจ

๑๒. อัปปเมยยะ ทรงเป็นผู้ไม่มีบุคคลใดจะประมาณได้

๑๓. คัมภีระ ทรงมีพระคุณลึกซึ้ง

๑๔. โมนปัตตะ ทรงได้บรรลุถึงญาณอันประเสริฐ

๑๕. เขมังกระ ทรงทำความเกษมจากโยคะ

๑๖. เวทะ ทรงมีพระญาณคือความรู้

๑๗. ธัมมัฏฐะ ทรงตั้งมั่นในพระสัทธรรม

๑๘. สังวุตัตตะ ทรงสำรวมพระองค์ดีแล้ว

๑๙. สังคาติคะ ทรงล่วงกิเลสที่เป็นเครื่องข้องได้แล้ว

๒๐. มุตตะ ทรงหลุดพ้นแล้วโดยประการทั้งปวง

๒๑. นาคะ ทรงเป็นผู้ประเสริฐ

๒๒. ปันตเสนะ ทรงยินดีในเสนาสนะอันสงัด

๒๓. ขีณสัญโญชนะ ทรงมีสังโยชน์สิ้นแล้ว

๒๔. ปฏิมันตกะ ทรงมีพระปัญญาเครื่องคิดอ่านที่กว้างขวาง

๒๕. โธนะ ทรงมีพระญาณเครื่องหยั่งรู้

๒๖. ปันนธชะ ทรงลดธงคือมานะเสียได้แล้ว

๒๗. วีตราคะ ทรงปราศจากราคะตัณหา

๒๘. ทันตะ ทรงฝึกฝนพระองค์ดีแล้ว

๒๙. นิปปปัญจะ ไม่ทรงมีกิเลสเครื่องหน่วงไว้ให้เนิ่นช้า

๓๐. อิสิสัตตมะ ทรงเป็นพระอริยฤาษีองค์ที่ ๗

๓๑. อกุหะ ทรงเป็นผู้ไม่ประพฤติลวงโลก

๓๒. เตวิชชะ ทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยไตรวิชชา

๓๓. พ๎รัหม๎ปัตตะ ทรงถึงความเป็นผู้ประเสริฐ

๓๔. นหาตกะ ทรงล้างกิเลสหมดจดดีแล้วด้วยอริยมรรค

๓๕. ปทกะ ทรงฉลาดในการประสมอักษรให้เป็นบทคาถา

๓๖. ปัสสัทธะ ทรงสงบระงับแล้วโดยประการทั้งปวง

๓๗. วิทิตเวทะ ทรงมีพระญาณอันรู้แล้ว

๓๘. ปุรินททะ ทรงประทานธรรมทานก่อนใครอื่นทั้งหมด

๓๙. สักกะ ทรงองอาจสามารถ

๔๐. อริยะ ทรงเป็นพระอริยะ

๔๑. ภาวิตัตตะ ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว

๔๒. ปัตติปัตตะ ทรงบรรลุถึงธรรมที่ควรบรรลุ

๔๓. เวยยากรณะ ทรงแสดงอรรถธรรมให้พิสดารได้

๔๔. สติมา ทรงเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ในกาลทุกเมื่อ

๔๕. วิปัสสี ทรงเป็นผู้เห็นแจ้งธรรมทั้งปวง

๔๖. อนภินตะ ไม่ทรงมีอาการยุบลงตามโลกธรรม

๔๗. โน อปนตะ ไม่ทรงมีอาการฟูขึ้นตามโลกธรรม

๔๘. อาเนชะ ไม่ทรงหวั่นไหวในเหตุการณ์ทั้งปวง

๔๙. วสิปปัตตะ ทรงบรรลุถึงความเป็นผู้ชำนาญ

๕๐. สัมมัคคตะ ทรงเสด็จไปดีแล้ว

๕๑. ฌายี ทรงสมบูรณ์ด้วยฌานอันยอดเยี่ยม

๕๒. อนนุคตันตระ ไม่ทรงปล่อยจิตไปตามอารมณ์

๕๓. สุทธะ ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ

๕๔. อสิตะ ไม่ทรงมีความสะดุ้งกลัว

๕๕. อัปปภีตะ ทรงปราศจากความกลัว

๕๖. ปวิวิตตะ ทรงมีความสงัดพระทัยได้ในที่ทุกแห่ง

๕๗. อัคคัปปัตตะ ทรงบรรลุธรรมอันเลิศ

๕๘. ติณณะ ทรงข้ามพ้นได้แล้ว

๕๙. ตารยันตะ ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามโขดหินคือกิเลส

๖๐. สันตะ ทรงเป็นผู้สงบระงับแล้ว

๖๑. ภูริปัญญะ ทรงมีพระปัญญากว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน

๖๒. มหาปัญญะ ทรงมีพระปัญญาใหญ่หลวง

๖๓. วีตโลภะ ทรงปราศจากความโลภ

๖๔. ตถาคตะ ทรงดำเนินตามปฏิปทาของพระพุทธเจ้าในปางก่อน

๖๕. สุคตะ ทรงเสด็จไปดีแล้ว

๖๖. อัปปฏิปุคคละ ไม่ทรงมีบุคคลใดเปรียบปานได้

๖๗. อสมะ ไม่ทรงมีบุคคลใดเสมอเหมือนได้

๖๘. วิสารทะ ทรงเป็นผู้แกล้วกล้าในที่ทั้งปวง

๖๙. นิปุณะ ทรงมีพระปัญญาอันละเอียดสุขุม

๗๐. ตัณหัจฉิทะ ทรงตัดตัณหาได้ขาดแล้ว

๗๑. พุทธะ ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

๗๒. วีตธูมะ ทรงปราศจากควันคือกิเลส

๗๓. อนุปลิตตะ ไม่ทรงถูกตัณหาและทิฏฐิแปดเปื้อน

๗๔. อานุเนยยะ ทรงเป็นผู้ควรรับการบูชา

๗๕. ยักขะ ทรงได้พระนามว่า ยักษ์ คือ ผู้ครอบงำอันตราย

๗๖. อุตตมปุคคละ ทรงเป็นบุคคลผู้สูงสุด

๗๗. อตุละ ทรงมีพระคุณอันช่างมิได้หรือไม่มีผู้เปรียบปาน

๗๘. มหันตะ ทรงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่

๗๙. ยสัคคัปปัตตะ ทรงถึงยศอย่างยอดเยี่ยม

๘๐. สมณะ ทรงเป็นผู้สงบระงับจากบาปทั้งปวง

๘๑. พ๎ราห๎มณะ ทรงเป็นผู้ลอยบาปได้แล้ว

๘๒. เวทคู ทรงเป็นผู้ทรงถึงพระเวท

๘๓. ภิสักโก ทรงเป็นผู้เป็นศัลยแพทย์

๘๔. นิมมโล ทรงเป็นผู้ไม่มีมลทิน

๘๕. วิมโล ทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน

๘๖. ญาณี ทรงเป็นผู้มีญาณ

๘๗. วิมุตโต ทรงเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |